29/9/53

Eggs of Dynastes hyllus

                            การผสมพัธุ์ของเจ้า Dynastes hyllus เพศผู้กับตัวเมียหมายเลข 2
                                                                                    

หลังจากที่ผมปล่อยตัวผู้กับตัวเมียเลี้ยงรวมกันได้ 1 สัปดาห์ ในตู้เพาะพันธุ์ ผมได้ลองรื้อตู้เพาะพันธุ์เพื่อที่จะแยกตัวเมียลงไปวางไข่ในตู้วางไข่ ผลปรากฏว่า

เก็บไข่ได้จำนวนหนึ่งซึ่งยังไมแข็งแรง ซึ่งผมคาดว่าเป็นไข่ที่มาจากตัวเมียหมายเลข 1

                                                                             


ต่อด้วยเรื่องสีของเจ้าDynastes hyllus เลยนะครับ
หลังจากที่ผมลองเอาเจ้าตัวผู้ มาอยู่ในกล่องเล็กๆเพื่อสังเกดการเปลี่ยนแปลงของสีได้ผลว่า


                                       แต่หลังจากถ่ายรูปเสร็จ เค้าก็มุดดินลงไปอยู่ใต้กล่อง สีก็เลยกลับกลายเป็นสีดำเหมือนเดิม ข้อสรุปของผมเองเรื่องการเปลี่ยนสีนี้คงเกี่ยวกับความชื้นและแสงครับ                                                                                   
                      

การเปลี่ยนแปลงของไข่กว่างซางหูกระต่าย

จากรูปไข่มีลักษณะเป็นทรงกลมขึ้นหลังจากที่แม่กว่างได้วางไข่ประมาณ 2 สัปดาห์ ทีนี้ก็รอเวลาอีก 1-2 สัปดาห์ ที่ไข่จะฟักเป็นตัวหนอนต่อไป

18/9/53

Larve of Golofa pizzaro

ด้วงกว่างเขาตั้งปิซซาโร่ พบที่ ทวีปอเมริกากลางประเทศเม็กซิโก ผมเองได้หนอนมาเลี้ยงเมื่อ 11-09-2010 เป็นอีกตัวที่นำมาศึกษา และก็ยังต้องหาทางเลี้ยงดูกันต่อไป เฮ้อ

Dorcus titanus titanus

                                        Dorcus titanus titanus 77 mm
ตัวนี้มีแต่รูปตัวผู้มาโชว์เฉยๆครับเนื่องจากตัวเมียอ่อนเพลียจากากรเดินทางและตายไปซะก่อน เป็นด้วงคีมฟันเลื่อยที่พบทางตอนใต้ของไทย และ ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย

Dorcus antaeus

                                                Dorcus anteus 80 mm
ด้วงคีมกระทิงดำ อาศัยในภูเขาสูงทางภาคเหนือของไทยครับ ผู้เพาะเลี้ยงบางทั่นสามารถเพาะได้สำเร็จใน กทม ผมจึงนำมาทดลองเพาะศึกษาดู แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือไม่ครับ ซึ่งตอนนี้ตัวเมียลงตู้วางไข่ได้ครบ 2 เดือนแล้ว แล้วจะเอารุปตู้วางไข่มาให้ดูนะครับ

                                                    

17/9/53

Eupatorus birmanicus หูกระต่ายที่น่ารัก

ปีนี้ผมตั้งใจจะเพาะกว่างซางของไทย 2 ชนิด ครับ คือ กว่างซางหูกระต่าย (Eupatorus birmanicus) และ กว่างซางอีสาน[Eupatorus siamensis] แต่ตอนนี้ผมได้ตัวเจ้ากว่างซางหูกระต่ายมาเพาะแล้วครับ และการเพาะก็เป็นไปได้ค่อนข้างดี

Eupatorus birmanicus male 68 mm

pair
หลังจากการจัดตู้แบบการวางไข่ของด้วงกว่างทั่วไป เมื่อเวลาผ่านไปได้ 1 สัปดาห์ ผมก็เสี่ยงที่จะลองรื้อกล่องวางไข่ดุครับ เพราะผมสังเกตสัญญาณบางอย่างได้จากผิวดิน จึงมั่นใจว่าตัวเมียได้วางไข่แล้ว

 
12 eggs of Eupatorus birmanicus
ที่เหลือ ก็รอแต่เวลาที่จะให้แม่กว่างวางไข่ต่อ และรอ เวลาที่ไข่จะฟักตัวเป็นหนอนระยะแรก
                                               

15/9/53

Dynastes hyllus


Dynastes hyllus  male  85 mm
ตัวนี้ยังไม่มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยครับ ส่วนตัวผมเองขอตั้งว่า ด้วงกว่างเหลืองใหญ่ พึ่งได้มาเพาะพันธุ์ เร็วๆนี้เองครับ ยังไม่ทราบเรื่องอาหารการกินและวิธีเพาะพันที่แน่นอนเท่าไหร่ ยังไง ก็ขอคลำหาทางต่อไปครับ



ภายในตู้ผสมพันธุ์
                                                       Dynastes hyllus female